ฆ้อง กลองเพล ระฆัง กลองยาว โปง ผางฮาด(ฆ้องจีน) ฉาบ กระดิ่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ โดย คุณอัมพร หอมพิกุล (045-849040 หรือ 081-9553178) http://gongbigdrumandbellseller.siam2web.com/

คุณอัมพร หอมพิกุล ผู้จำหน่าย ฆ้อง กลองเพล ระฆัง กลองยาว โปง ผางฮาด(ฆ้องจีน)  จัดส่งทั่วประเทศ รับซ่อมกลองเพล ด้วยครับ

ประวัติความเป็นมา ฆ้อง

  

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

   

  

ฆ้องในดนตรีไทย

  

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

  

 

ฆ้องที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา

 

ฆ้อง มีประวัติความเป็นมาช้านานแต่อดีตกาลนานนับย้อนหลังอดีตเก้าสิบแปดกัลป์ สมัยพระวินัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้ายุคสมัยนั้น ยังกล่าวกันว่าเทวดาตีฆ้องร้องป่าวไปทั่วสามโลก ( สวรรค์ - มนุษย์ - บาดาล ) ให้มาร่วมฟังธรรม เดิมทีฆ้องจะมีลักษณะตูมเดียว ต่อมาได้พัฒนาเป็นฆ้องเก้าตูมที่นครเวียงจันทร์ประเทศลาว เล่ากันว่าใครสร้างฆ้องเก้าตูมนมเก้าก้อน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่อดไม่อยากปากแห้ง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

 

ปัจจุบัน ฆ้องถูกนำไปใช้ร่วมกับพิธีกรรมต่างๆ โดยนิยมซื้อไปถวายวัด เพราะเชื่อกันว่าจะ ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ปัจจุบัน แหล่งผลิต ฆ้องของประเทศไทย อยู่ที่บ้านหัวดอน, บ้านคอนสาย และบ้านทรายมูล (ทั้ง 3 หมู่บ้านนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้กัน)ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีมากมายหลายขนาด จัดเป็นสินค้าโอทอป ของตำบล โดย ฆ้อง จะมีโฉลก แบ่ง ตามความเชื่อของชาวอิสาน ดังนี้

 

- สิทธิชัยมังคลโชค

- ตีอวดโลกป่าวเดียวดาย

- เสียงดังไกลบ่มั่ว

- เสียงดังทั่วเท่าแผ่นธรณี

- แสน มเหสีมานั่งเฝ้า

- เป็นเจ้าแผ่นทองเหลือง

- แห่ขุนเมืองขึ้นนั่งแท่น

- แสนขุนแหล่นมาเต้า

- ตีโอนอ้าวเสพขอนผี

- นางธรณีตกใจกลัวสะท้าน

- ตีออกบ้านผามเอาชัย

 

โฉลกนิยมใช้มือคืบ กำปั้น ทางภาคอีสานใช้กำปั้นเรียงตามโฉลก 11 โฉลก

 

      

กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต

  

เดิมใช้แผ่นทองใส่ไฟให้ร้อนประมาณ 300 – 400 C ใช้ค้อนตีเป็นรูป โดยใช้เบ้าโม้ขนาดความต้องการ ความต้องการในที่นี้คือให้ตรงกับโฉลกที่ต้องการ ข้อเสียคือ ช่างตีฆ้องจะหูหนัก หูหนวกไปตาม ๆ กัน บางรายต้องเลิกกิจการเพราะเสียงตีฆ้องจะดังกังวาลเกิน 250 เดซิเบล ขึ้นไป เนื่องจากวิธีการทำฆ้องแบบนี้จะได้ผลผลิตที่ดี แต่ต้องใช้ไม้ฟืนมหาศาลเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างมากมายจึงวิวัฒนาการทำ เป็นฆ้องแบบเชื่อม แผ่นทองเหลืองเป็นรูปฆ้องเสร็จแล้วจึงทำตูมฆ้องและนิยมทำเก้าตูมตามความต้องการของตลาด ช่างฆ้องจะวาดลวดลายไทยหรือรูปแบบอื่น ๆ ลงในตัวฆ้องเพื่อความสวยงามแล้วแต่ภูมิปัญญาผู้ทำ เมื่อทำฆ้องเสร็จต้องทำค้อนตีฆ้องโดยเฉพาะใช้ด้ามพันด้วยผ้าถักด้วยด้าย อย่างสวยงาม

  

  

ย้อนตำนานฆ้องตำบลทรายมูล

  

เล่าขานกันว่า เดิมฆ้องที่ใช้ในประเทศไทยนั้น มาจากประเทศพม่า โดยร้าน “ช่วยเจริญสังฆภัณฑ์” จ.อุบลราชธานี รับซื้อมา เพื่อขายต่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจะซื้อไปหาบเร่ขายในประเทศลาวอีกทอดหนึ่งแต่เนื่องจากรับมาไกลราคาจึงแพง ทำให้เกิดการริเริ่มทำฆ้องขึ้นเองที่ “บ้านห้วยขยุง” จ.อุบลราชธานี แต่ไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นคนเริ่มต้น จากนั้น ราว พ.ศ.2524 ชาวบ้านทรายมูลที่อยากทำฆ้องเป็นบ้าง ได้ขอฝึกฝนฝีมือจากนายช่างบ้านห้วยขยุง แล้วนำกลับมาเผยแพร่ให้พี่น้องบ้านเกิด และถ่ายทอดต่อๆ กันจนปัจจุบัน ชาวบ้านทรายมูล และใกล้เคียงต่างยึดอาชีพทำฆ้องแทบทุกครัวเรือน ส่วนบ้านห้วยขยุงแหล่งกำเนิด ภูมิปัญญานี้กลับค่อยๆ สูญหาย เพราะขาดผู้สานต่อ

  

การตีฆ้องจะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ชาวบ้านแทบทุกคนรู้จักวิธีทำอย่างดี และยึดอาชีพทำฆ้องเป็นรายได้เสริมหลังการทำนา ทั้งรับจ้างและเป็นผู้ผลิตเอง ในพื้นที่มีผู้ผลิตฆ้องรายใหญ่อยู่ประมาณ 7 ราย ส่วนรายเล็กรายน้อยอีกไม่ต่ำกว่า 200 ราย

  

ในส่วนการตลาดจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงบ้าน ประมาณร้อยละ 80 จะซื้อเพื่อนำไปขายต่อร้านสังฆภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉลี่ยแล้ว ทุกจังหวัดต้องมีร้านสังฆภัณฑ์ที่ขายฆ้องทรายมูลอย่างน้อยหนึ่งร้าน ส่วนอีกร้อยละ 20 จะส่งไปขายยังประเทศลาว

  

       วัสดุที่ใช้ทำฆ้อง มี 2 ประเภท คือ ทองเหลือง กับเหล็ก ขนาดฆ้องที่ทำขาย มีตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ถึง 3 เมตร โดยขนาดยอดนิยมคือ 1.5 เมตร ราคาขาย ถ้าเป็นฆ้องเหล็ก ประมาณ 45,000 บาท ส่วนฆ้องทองเหลือง ประมาณ 75,000 บาท

 

(Root) 2010223_59525.jpg

       (Root) 2010216_54712.jpg

    

       เนื่องจากการทำฆ้องเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งช่างต้องใช้ความชำนาญสูง ประกอบชื่อเสียงที่สะสมมานาน อีกทั้ง การผลิตต้องใช้ทุนสูง จำเป็นต้องมีตลาดรองรับแน่นอนก่อน เป็นเหตุผลให้นับถึงปัจจุบัน ต.ทรายมูล และใกล้เคียง ยังเป็นแหล่งผลิตฆ้องแห่งเดียวในประเทศไทย ต่อเดือนจะมีเงินหมุนเวียนซื้อขายฆ้องในชุมชนนี้ไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท โดยเฉลี่ยช่างแต่ละคนจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน จากรายได้ที่น่าพอใจนี้ บ้านทรายมูลมีอัตราคนหนุ่มสาวไปทำงานในเมืองน้อยมาก

 

 

 

                                                       ฆ้อง

 

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 63,300 Today: 5 PageView/Month: 131

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...